แบบทดสอบบทที่4

ข้อที่ 1)ข้อใดคือจุดมุ่งหมายในการอ่านวรรณคดีไทย   ก. อ่านเพื่อความบันเทิง   ข. อ่านเพื่อให้รู้เรื่องราว   ค. อ่านเพื่อสนองความต้องการของอารมณ์   ง. อ่านเพื่อรับรสความงามไพเราะของคำประพันธ์
ข้อที่ 2)คุณค่าของวรรณคดีไทยอยู่ที่ใด   ก. ความงดงามและอรรถรสทางภาษา   ข. เรื่องราวน่าตื่นเต้นชวนติดตาม   ค. ความวิจิตรพิสดารเหนือธรรมดา   ง. ความกลมกลืนสอดคล้องของตัวละครและเรื่องราว
ข้อที่ 3)วรรณคดีสะท้อนภาพลักษณ์ของสังคมไทยในสมัยใดมากที่สุด   ก. สมัยที่ผู้แต่งได้แต่งเรื่องนั้นขึ้น   ข. สมัยที่ผู้แต่งสมมุติเรื่องราวนั้นขึ้น   ค. สมัยใดก็ได้แล้วแต่ผู้แต่งกำหนดขึ้น   ง. สมัยที่ผู้อ่านอ่านวรรณคดีเรื่องนั้น
ข้อที่ 4)บทร้อยกรองแตกต่างจากร้อยแก้วในเรื่องใด   ก. กฎระเบียบการเรียบเรียงคำ   ข. ความสละสลวยของภาษา   ค. ความสนุกสนานในการอ่าน   ง. การเกิดภาพพจน์และจินตนาการ
ข้อที่ 5)ข้อใดถือว่าเป็นคุณค่าด้านคุณธรรมของวรรณคดีไทย   ก. การใช้คำสัมผัสสระและอักษร   ข. ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน   ค. สอดแทรกคติเตือนใจ   ง. การเกิดภาพพจน์และจินตนาการ
ข้อที่ 6)ตัวละครใดในวรรณคดีไทยเกิดจากจินตนาการของผู้แต่ง   ก. บุเรงนอง   ข. พระสุริโยทัย   ค. สุดสาคร   ง. ขุนช้าง
ข้อที่ 7)วรรณคดีที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดแห่งกลอนนิราศคือเรื่องใด   ก. นิราศลอนดอน   ข. นิราศภูเขาทอง   ค. นิราศพระบาท   ง. นิราศเดือน
ข้อที่ 8)คำกลอนในข้อใดเป็นลักษณะสอดแทรกอุทาหรณ์สอนใจ   ก. แม้นมิได้ยกพลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี   ข. ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว แต่เขารู้ตัวนั้นเป็นพี่   ค. โอ้ว่าพระองค์ผู้ทรงยศ พระเกียรติปรากฎทั่วหล้า   ง. เกียรติยศจะไว้ในธรณินทร์ จนสุดสิ้นดินแดนแผ่นฟ้า
ข้อที่ 9)ลักษณะใดของคำประพันธ์ที่จำเป็นต้องมีมากที่สุด   ก. สัมผัสนอก   ข. สัมผัสใน   ค. เสียงวรรณยุกต์   ง. สัมผัสอักษร
ข้อที่ 10)ข้อใดถือว่าเป็นคุณค่าด้านสังคมของวรรณคดีไทย   ก. การใช้คำสัมผัสสระและอักษร   ข. ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน   ค. สอดแทรกคติเตือนใจ   ง. สะท้อนภาพสังคมในยุคนั้น
เฉลย

1 ค
2ก
3ก
4ก
5ค
6ค
7ข
8ง
9ก


10ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น